หน้าเว็บ

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมดง รอบที่ ๑

ข้าวหอมดง
ลักษณะพันธุ์
เป็นข้าวกึ่งไร่กึ่งนา สูง ๑๕๐ ซม. แตกกอดี ใบสีเขียว ใบธงนอน รวงสั้น จับห่าง คอรวงเหนียว เมล็ดอ้วนสั้น เปลือกสีทอง หางสั้น ข้าวสารสีขาวใส
เก็บเกี่ยว
ประมาณเดือนพฤศจิกายน (ข้าวกลาง)
คุณสมบัติ
ทนแล้ง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพน้ำขัง และสภาพไร่ ด้วยการอาศัยน้ำฝน และความชื้นในดิน
การใช้ประโยชน์
เหมาะกับการบริโภค เพราะเป็นข้าวที่อ่อนนุ่ม
การต้านทานโรค
ต้านทานโรคไหม้ปานกลาง

การปรุบปรุงพันธุ์
คัดเลือกข้าวที่มีรวงยาว จากแปลงข้าวที่หว่านไว้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๔ นำมารวมกันแล้วคัดเมล็ดที่มีลักษณะดีเก็บใส่ขวดแก้วไว้
                      
มิถุนายน ๒๕๕๕
แกะเปลือกออก คัดเมล็ดที่บิดเบี่ยว จมูกใหญ่ แตกร้าว ท้องไข่ปลาออก แล้วแช่น้ำ ๑ คืน ครบกำหนด เทน้ำออก อบในขวดแก้วจนออกราก จึงไปปลูกในถาดเพาะ

กรกฎาคม ๒๕๕๕(ไม่ได้บันทึกวันไว้)
ดายหญ้า แล้วขุดหลุมปลูกระยะ ๕๐ x ๕๐ เซนติเมตร จำนวน ๗๐๐ ต้น ตัดหญ้าให้ติดดินด้วยเครื่อง ๒ ครั้ง ฉีดน้ำหมักปลาผสมน้ำส้มควันไม้ ๑ ครั้งช่วงก่อนออกดอก บริเวณหน้าดินบาง(น้อยกว่า ๕ เซนติเมตร) แตกกอเพียง ๑๐ ต้น บริเวณหน้าดินหนามากกว่า ๑๐ เซนติเมตร แตกกอได้กว่า ๒๐ ต้น ความสูงวัดถึงปลายรวงสูง ๑๔๕ - ๑๕๐ เซนติเมตร
สิงหาคม ๒๕๕๕
ปลูกชุด ๒ จำนวน ๑๐๐ ต้น
๕ พฤศจิกายน ๒๕๕
เกี่ยวข้าว ข้าวเสียหายจากน้ำบ่า แล้วล้ม หนูและนกกิน จุดที่ล้มเกือบ ๑๐๐% 
๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕
เกียวข้าวชุดที่ ๒ เป็นโรคไหม้(คอรวงเน่า)ประมาณ ๒๐ %( แปลงหอมมะลิบริเวณใกล้เคียงเป็นถึง ๙๐%)
สรุปผลไม่มีพันธุ์อื่นปลอมปน เก็บเกี่ยวเดือนพฤสจิกายน ต้านโรคไหม้ได้ปานกลาง คุณภาพดินมีผลมากต่อการแตกกอและความสูง ปลูกได้ทั้งไร่และนา ลำต้นใหญ่แตกกอได้ดีเกือบ ๓๐ ต้น ระยะปลูกในดินดีแนะนำ ๔๐x๔๐ เซนติเมตร
คัดต้นที่แตกกอเกิน ๒๕ ต้น และต้นที่ไม่เป็นโรคไหม้ ไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในรอบ ๒ ต่อไป
ท่านใดต้องการพันธุ์ข้าว แบ่งจำหน่ายคนละไม่เกิน ๓ กิโลกรัม ติดต่อ ๙๕ ๖๔๑ ๗๘๙๖-๗
๑ ก.ก.     ๐ บาท + ค่าส่ง ๐ รวม   ๑๐๐ บาท
๒ ก.ก.  ๑๐ บาท + ค่าส่ง ๐ รวม ๑๐ บาท
๓ ก.ก.  ๑๐ บาท + ค่าส่ง  ๐ รวม ๒๖๐ บาท
ติดตามการปรับปรุงพันธุ์ รอบ ๒ ใน facebook
https://www.facebook.com/pages/Jakkrapadh-Farm/194488840723058

สนับสนุนโดย https://web.facebook.com/25baht/

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การขยายพันธุ์พืช แบบควบแน่น

การขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่น โดยแนวคิดของนายเฉลิม พีรี ศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านวัดใหม่ ๗๕ หมู่ ๓ ต.บึงสามัคคี อ.บึงสามัคคี จ.กำแพงเพชร ๐๘๙-๕๖๗๐๕๙๑ วิธีนี้ใช้ได้กับพืชผักและผลไม้ ๓๐ กว่าตัวอย่าง สามารถขยายได้ทีละมากๆ เมื่อเกิดน้ำท่วม หรือลมพัดต้นแม่พันธุ์เสียหาย สามารถใช้วิธีนี้อนุรักษ์พันธุ์พืชได้ การขยายพันธุ์พืชผักพื้นบ้านแบบควบแน่นอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวิธีการที่สามารถลดเวลา ต้นทุน และการดูแลรักษา สามารถกำหนดปริมาณของผลผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดและการบริโภคได้อย่างแม่นยำ
การขยายพันธุ์มะนาว แบบควบแน่น
องค์ประกอบในการควบแน่นมะนาว มีดังนี้
- ยอดมะนาว ความแก่อ่อน ๔๐ – ๖๐%
- น้ำสะอาด
- แก้วพลาสติค ขนาดบรรจุ ๑๐ ออนซ์
- ถุงพลาสติคใสขนาด ๖ ๑๑ นิ้ว
- ยางวงเส้นเล็ก
วิธีทำ
เก็บดินจากบริเวณที่มีอินทรีวัตถุน้อย ทำดินให้ร่วนซุย
- พรมน้ำคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วปั้นดู พอติดมือ (กำพอเป็นก้อน)
- นำดินใส่ให้เต็มแก้วพลาสติค โดยแบ่งใส่ ๓ ครั้ง แต่ละครั้งกดดินให้แน่น ระดับ ๘๐%
- ใช้ไม้แหลมหรือกรรไกรเสียบตรงกลางแก้วที่ใส่ดินให้ลึกไม่เกิน ๓ ใน ๔ ส่วนของแก้ว
- ใช้กรรไกรคม ตัดยอดมะนาวตามที่ต้องการ ตัดให้ยาวประมาณ ๑๒ – ๑๘ ซม. ข้อสำคัญ อย่าให้แผลที่ตัดเปลือฉีก จะออกรากไม่ดี
- ใช้กรรไกรตัดหนามออกให้หมด ป้องกันหนามแทงถุง ถ้าอากาศเข้าจะออกรากยาก
- นำยอดมะนาวเสียบลงในรูที่เสียบไว้ ให้สุด
- กดดินรอบกิ่งมะนาวให้แน่น อย่าให้หลวม จะออกรากยาก
- นำถุงพลาสติคครอบลงแล้วรัดด้วยยางวงจำนวน ๒ เส้น แล้วดึงก้นถุงให้ยางไปรัดอยู่ที่ขอบปากแก้ว
- นำไปเก็บไว้ในที่ร่มรำไร หลังจากนั้น ๑๕ – ๒๐ วัน ให้ตรวจดูราก พอพบรากให้ปล่อยจนรากมีสีน้ำตาลค่อยกลับถุง
การกลับถุง มีวิธีดังต่อไปนี้
๑.ให้นำถุงออกจากแก้ว ช่วงประมาณ ๑๘.๐๐ น. เพื่อป้องกันความร้อน
๒.นำถุงออกแล้ว นำแก้วมะนาวที่ออกรากแล้ว ใส่กลับลงไปในถุง (เปิดปากถุงไว้ ไม่ต้องใช้ยางวงรัด)
๓.ทิ้งไว้ในร่มรำไร ประมาณ ๕ – ๗ วัน ค่อยนำแก้วมะนาวออกจากถุง เพื่อให้มะนาวปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
๔.หลังจากนั้นนำแก้วมะนาวที่ออกจากถุง พักตัวไว้ในร่ม ๗ – ๑๐ วัน ค่อยนำไปเพาะในกระถาง หรือนำไปปลูกได้เลย